วิธีการเลือกคอนแทคเลนส์



สำหรับวิธีการเลือกคอนแทคเลนส์นั้น ในครั้งแรกที่ทุกท่านจะลองใส่คอนแทคเลนส์ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม ความแบ๊ว หรือเพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเรื่องจากปัญหาสายตา ควรที่จะไปพบจักษุแพทย์ดูสักครั้งหนึ่งก่อนค่ะ เพราะว่าจักษุแพทย์จะได้วัดค่าสายตา B.C. DIA. CYL AXIS คุณภาพและปริมาณของน้ำตา รวมถึงโรคของตาที่อาจยังไม่แสดงอาการ etc. แล้วจะได้แนะนำคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับดวงตาของท่านให้ค่ะ เพราะ ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับดวงตาเนี่ยสามารถทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หลากหลายเลยค่ะ เช่น
ใส่คอนแทคเลนส์ที่B.C.น้อยเกินไป ก็จะทำให้ดวงตาของท่านถูกบีบรัด จนเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก หรือทำให้ความดันในดวงตาเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเป็นโรคต้อชนิดต่างๆขึ้นมาได้ หรือB.C.ที่มากเกินไป ก็จะทำให้ใส่คอนแทคเลนส์แป๊บๆก็หลุดแป๊บๆก็เลื่อน ลมพัดหน่อยหรือกระพริบตาหน่อยก็ปลิวไปอะไรแบบนี้ค่ะ หรือว่าถ้าใสคอนแทคเลนส์ที่มีDIAมากเกินไปก็จะทำให้ออกซิเจนไหลผ่านเข้าสู่ดวงตาน้อยลง ก็เป็นปัญหาได้อีกเช่นกัน
ดังนั้นหลักในการเลือกคอนแทคเลนส์แบบง่ายๆคือ

1.มีDIA.ที่ไม่ใหญ่จนเกินไปโดยปกติจะอยู่ที่ 14.0-14.5
2.B.C.ที่เหมาะสมพอดีกับดวงตาของเรา
3.มีค่าอมน้ำ(water content)ในเปอร์เซ็นต์สูง เพราะค่าอมน้ำเนี่ย หมายถึงการที่คอนแลนส์สามารถอุ้มน้ำได้เท่าไหร่และยอมให้ออกซิเจนไหลผ่านได้แค่ไหน ซึ่งยื่งมากก็จะลดโอกาสตาแห้งหรือระคายเคืองตาลงไปได้ค่ะ
- High water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ใส่สบายตาและใส่ได้นาน
- Low water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้น้อย ความสบายตาลดลง และใส่ได้ไม่นาน 
แต่ว่าสิ่งที่ช่วยลดอาการตาแห้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าอมน้ำอย่างเดียวนะคะ วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ก็มีส่วนค่ะ ว่าทำให้น้ำระเหยไปได้ไวแค่ไหน เพราะก็มีนะคะที่ค่าอมน้ำสูงมากๆแต่วัสดุเนี่ยทำให้น้ำระเหยออกไปได้เร็วตาเราจึงแห้งระหว่างวันค่ะ (เพราะฉะนั้นจึงมีบางคนบอกว่ายี่ห้อAอมน้ำ 60% แต่ทำไมใส่แล้วไม่สบายตาเท่ายี่ห้อBที่อมน้ำแค่ 40 % มันมีสาเหตุมาจากวัสดุนี่แหละค่ะ)
4.มีวัสดุที่เหมาะสม(Material) ถ้าหากท่านแพ้วัสดุตัวใดที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ก็ควรที่จดเอาไว้นะคะ เพราะถ้าคราวหน้าเราจะเปลี่ยนยี่ห้อจะได้ดูว่าไม่มีวัสดุที่เราแพ้ค่ะ (อาการแพ้ก็คือใส่แล้ว เจ็บตา ระคายเคืองตา มีขี้ตาออกมามากกว่าปกติ ตาแฉะ มองภาพไม่ชัด etc.)
ซึ่งHydroxyethyl methacrylate ( HEMA ) เป็นสารชนิดแรกที่นำมาผลิต Soft Cont Lens 
- สามารถอมน้ำได้ตั้งแต่ 38 %ขึ้นไป , นิ่มใส่สบายและใส่ได้นาน
- ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ปัจจุบันคอนเลนส์ที่นิยมใช้กัน จะผลิตด้วยเนื้อวัสดุที่เป็น HEMA หรือ Polymacon ,Methafilcon Aและอีกหลากหลายเลยค่ะต้องดูกันแล้วจดตัวที่เราแพ้ไว้ด้วยนะคะ 

5.มีกรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมซึ่งตอนนี้เท่าที่ทราบมี 4 แบบค่ะ

1. SPIN CAST ( ระบบปั่น เป็นระบบเดิม ) 
ข้อดี 
- ผิวเรียบใส่สบาย 
- ต้นทุนการผลิตต่ำ 
ข้อเสีย 
- พับ และฉีกขาดง่าย
- ผลิตโค้งได้น้อย 
- ใช้เวลานานในการผลิตต่อชิ้น

2. LATHE CUT ( ระบบเจียระไน เป็นระบบที่ทันสมัย ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียดได้มาตรฐาน 
- เกาะตาดำได้ดี
- พับและฉีกขาดยาก 
- ผลิตได้หลายโค้ง เหมาะสำหรับดวงตาทุกขนาด 
ข้อเสีย
- ต้นทุนการผลิตสูง

3. CAST MOULDED ( ระบบปั๊ม ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียด 
- ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน 
ข้อเสีย 
- ต้นทุนการผลิตสูง 

4.Sandwish Method (ระบบสอดไส้) ใช้กับคอนแทคเลนส์สี
ข้อดี
- ชิ้นงานละเอียด
- ไม่มีโอกาสที่สีของคอนแทคเลนส์จะหลุดออกมาติดกับดวงตา
ข้อเสีย
- สีของเลนส์ไม่สม่ำเสมอ
เพราะฉะนั้นบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรืออเมริกา ท่านจะไม่สามารถซื้อคอนแทคเลนส์ด้วยตัวเองยกเว้นว่าจะมีใบสั่งจากจักษุแพทย์หรือมีประกันสังคมอะค่ะ แต่ของประเทศไทยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แล้วเกิดปัญหาทีก็ยุ่งเลยอะค่ะทีนี้

ดังนั้นไปพบจักษุแพทย์ก่อนลองใส่นะคะ

8 ความคิดเห็น:

  1. รายละเอียดเยอะจริง ไม่เคยสังเกตขนาดนี้เลย

    ตอบลบ
  2. คนผลิต เข้าใจทำนะ

    ตอบลบ
  3. เราต้องใส่ที่มีค่าอมน้ำเยอะ ๆ อ่ะ เราเป้นคนตาแห้ง :(

    ตอบลบ
  4. รู้ไว้ใช่ว่า ถือว่าเป็นความรู้ สำหรับคนที่อยากจะใส่ให้มันถูกต้อง

    ตอบลบ
  5. ต้องสังเกตดีๆ ว่ามันเป็นแบบไหน

    ตอบลบ
  6. ใส่แบบที่มีออกซิเจนผ่านได้เยอะ

    ตอบลบ
  7. มีคนที่แพ้คอนแทคเลนส์ด้วยหรอ 00

    ตอบลบ

 
Focus Eyes © 2012 | Designed by Rumah Dijual, in collaboration with Buy Dofollow Links! =) , Lastminutes and Ambien Side Effects