About

Focus eyes เป็นบล็อคที่รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวกับคอนแทคเลนส์หรือบิ๊กอายไว้ทั้งหมด มีทั้ง วิธีเลือกซื้อ วิธีใช้ วิธีเก็บ รวมไปถึงวิธีการดูแลดวงตาของเรา เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาชมได้มีความรู้เพิ่มเติม แล้วแบ๊วได้อย่างปลอดภัยค่ะ

ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้คอนแทคเลนส์


โดย แพทย์หญิง อรทัย ชาญสันติ จักษุแพทย์ประจำศูนย์แว่นตาไอซอพติก
การใส่คอนแทคเลนส์เป็นที่นิยมแพร่หลายในคนหลายล้านคนทั่วโลก พบว่าโดยเฉลี่ยต่อหนึ่งปี 1 ใน 20 ของคนที่ใส่คอนแทคเลนส์จะมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ ปัญหาเหล่านี้มีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรงสามารถหายเองได้จนถึงระดับที่รุนแรงมากและเป็นผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ ฉะนั้นการตรวจวินิจฉัยได้โดยเร็วและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยในการลดโอกาสการสูญเสียการมองเห็นจากภาวะแทรกซ้อนจากการใส่คอนแทคเลนส์ได้
ปัญหาที่พบมีได้ตั้งแต่เปลือกตา เยื่อบุตา และในทุกชั้นของกระจกตา
ปัญหาเกี่ยวกับเปลือกตา
  • คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอาจมีการหลุดเลื่อนจากกระจกตาไปอยู่ใต้เปลือกตาบน และอาจมีการครูดกับผิวเยื่อบุตาเป็นเหตุให้ระคายเคืองได้ หรือชิ้นส่วนของคอนแทคเลนส์อาจตกค้างเกิดเป็นพังผืดหุ้มรอบชิ้นส่วนนั้น และกลายเป็นตุ่มหรือก้อนคล้ายซีสต์ที่เปลือกตาได้
  • หนังตาตกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น คอนแทคเลนส์อาจก่อให้เกิดการอักเสบบวมของเยื่อบุตาโดยเฉพาะเยื่อบุตาด้านบนทำให้หนังตามีการบวมและตก หรือการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งซึ่งเวลาถอดออกจะต้องมีการดึงหนังตา เป็นเหตุให้เอ็นที่ทำหน้าที่ในการเปิดหนังตาถูกดึงยืดอยู่บ่อยๆ ทำให้เกิดการหย่อนยานและกลายเป็นหนังตาตก
ปัญหาเรื่องหนังตาตกสามารถแก้ไขได้โดยหยุดการใส่คอนแทคเลนส์ แต่หากหยุดใส่แล้วเป็นเวลาระยะหนึ่งยังคงมีหนังตาตกอาจสามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดได้

ภาพแสดงหนังตาตาตาซ้ายจากการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง

ภาพแสดงชนิดส่วนของคอนแทคเลนส์ที่ตกค้างบริเวณเยื่อบุตา
ปัญหาเกี่ยวกับน้ำตา
น้ำตาทำหน้าที่ในการเคลือบผิวกระจกตาและเยื่อบุตาให้มีความเรียบลื่น ทำให้เกิดความใสในการมองเห็น เป็นแหล่งออกซิเจนของเซลล์ในกระจกตาและเยื่อบุตา รวมถึงตัวน้ำตาเองจะมีสารต่อต้านเชื้อโรคอยู่ด้วย ฉะนั้นสุขภาพของผิวด้านนอกของดวงตาเรา ขึ้นอยู่กับคุณภาพ ปริมาณและการไหลเวียนที่ดีของน้ำตา
การใส่คอนแทคเลนส์เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณภาพของน้ำตาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การไหลเวียนของน้ำตาที่กระจกตาลดลง การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเซลล์กระจกตาและเยื่อบุตาลดลง เป็นเหตุให้เซลล์ชั้นนอกของกระจกตาและเยื่อบุตาถูกทำลาย น้ำตาฉาบพื้นผิวได้ไม่ดี และอาจมีเศษโปรตีนตกค้าง ทำให้คุณภาพการมองเห็นลดลง
ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุตา
  • อาการแพ้คอนแทคเลนส์ทันทีที่มีการสัมผัสดวงตา ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้วัสุดุที่ใช้ในการผลิตคอนแทคเลนส์ หรือสารทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ อาการแพ้ทำให้เกิดการคันอย่างมาก ร่วมกับมีเยื่อบุตาบวมแดง ระคายเคือง และน้ำตาไหล เปลือกตาก็อาจมีการบวมแดงด้วย การแพ้ชนิดนี้คล้ายกับภาวะภูมิแพ้ทั่วไป ซึ่งสามารถลดอาการโดยการถอดคอนแทคเลนส์ หรือหลีกเลี่ยงสารทำความสะอาดยี่ห้อที่ทำให้แพ้ ประคบเย็น และใช้ยาหยอดลดอาการแพ้
  • เยื่อบุตาอักเสบ ชนิดที่เรียกว่า giant papillary conjunctivitis (GPC) พบได้ประมาณ 1-3% ของผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ มักพบในผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มมากกว่าชนิดแข็ง จะพบมีเยื่อบุตาแดง ขี้ตาเหนียวขุ่น คันตา น้ำตามีเศษโปรตีน หรือมีเศษโปรตีนติดทีเนื้อคอนแทคเลนส์ คอนแทคเลนส์มีการเลื่อนจากตำแหน่งของกระจกตาอย่างมาก เหล่านี้ก่อให้เกิดภาพมัวในการมอง การตรวจทางจักษุจะพบเยื่อบุตามีการบวมเป็นตุ่มใหญ่ดังภาพด้านล่าง
 
การรักษาภาวะ GPC ได้แก่การทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดคราบโปรตีนและสิ่งสกปรก การเปลี่ยนคอนแทคเลนส์ให้บ่อยขึ้น ลดระยะเวลาในการใส่ในแต่ละวัน รวมถึงเลือกชนิดของคอนแทคเลนส์ที่มีการเกาะของคราบโปรตีนน้อย
การรักษาด้วยยาหยอดจำพวกสเตียรอยด์จะช่วยลดการอักเสบได้ แต่ควรอยู่ในดุลยพินิจของจักษุแพทย์
  • ผิวกระจกตาและเยื่อบุตาด้านบนอักเสบ ซึ่งเรียกว่า superior limbic keratoconjunctivitis (SLK) เป็นอาการแพ้อีกชนิดหนึ่งที่พบได้จากการใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่ม ตรวจพบว่าเยื่อบุตาด้านบนมีการหนาตัวมากกว่าปรกติและแดง มีจุดแห้ง มักทำให้เกิดการระคายเคือง แพ้แสง น้ำตาไหล หรือปวดแสบได้ จุดแห้งที่เกิดขึ้นจะพบที่กระจกตาส่วนบนด้วยทำให้การมองเห็นลดลงได้ สาเหตุสำคัญของภาวะ SLK เกิดจากการที่คอนแทคเลนส์มีการเลื่อนตำแหน่งมากกว่าที่ควรจะเป็น หรือจากการแพ้สาร thimerosal ที่ใช้ทำความสะอาดเลนส์
 
การรักษาภาวะ SLK : หยุดการใส่คอนแทคเลนส์ร่วมกับการให้เจลหยอดตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นต่อผิวเยื่อบุตาจนกว่าเยื่อบุตาจะกลับสู่ภาวะปรกติ และอาการต่างๆ หายไป จากนั้นหากยังต้องการใส่คอนแทคเลนส์ควรได้รับการตรวจชนิด และดีไซน์ของคอนแทคเลนส์ที่จะใส่ใหม่ เพื่อให้มีตำแหน่งและการเลื่อนขยับของคอนแทคเลนส์ระหว่างการใส่ในระดับที่เหมาะสม รวมทั้งการเลือกใช้สารทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ที่ไม่มีตัว thimerosal


'อะแคนทะมีบา' ภัย "คอนแทคเลนส์"

ดวงตา คือ หน้าต่างที่ทำให้เรามองเห็นโลกกว้าง ถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดี ก็อาจทำให้เราก้าวเข้าสู่โลกมืด หรือมีความผิดปกติทางสายตารุนแรงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ  

เพราะหากละเลยข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็อาจเป็นเหมือนการเปิดประตูต้อนรับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ  ที่มองไม่เห็นอย่าง “อะแคนทะมีบา” เข้ามารุกรานและทำอันตรายต่อดวงตา เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า อะแคนทะมีบา เป็นโปรตัวซัวแบบเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ในน้ำและดิน มีช่วงชีวิต 2 แบบ คือ 

1. แบบ “ซีสต์” มีขนาด 10-25 ไมครอน  เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เพียงแต่จะฝังตัวอยู่นิ่ง ๆ 

2. แบบ  “โทรโฟซอยต์” ที่เคลื่อนไหว มีขนาด 15-45 ไมครอน จะเปลี่ยนรูปร่างจาก “ซีสต์” มีฤทธิ์ทำลายดวงตา

อย่างไรก็ตาม เชื้ออะแคนทะมีบา ทั้ง 2 แบบ สามารถทนทานอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ เช่น หนาวจัด ร้อนจัด แห้งแล้ง ขาดอาหาร สระว่ายน้ำที่ใส่คลอรีน หรือแม้แต่บ่อน้ำร้อน

เกี่ยวข้องอย่างไรกับคนใส่คอนแทคเลนส์ 

ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์  สามารถพบกระจกตาอักเสบเนื่องจากติดเชื้ออะแคนทะมีบาได้ โดยส่งผลทำให้เกิดอาการ ดังนี้ ปวดตามาก สู้แสงไม่ได้  กระจกตาขุ่น ฝ้า  เป็นแผลอักเสบที่กระจกตา  ในบางรายดูคล้ายอักเสบเนื่องจากติดเชื้อไวรัสเริม

วิธีรักษา 

ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ในส่วนของการรักษา โดยทั่วไปจะต้องหยอดตาด้วยยาฆ่าเชื้อนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องผสมจากน้ำยาบางชนิดที่ไม่มีขายในท้องตลาด โดยจะต้องหยอดตาบ่อย ๆ เป็นเวลานานหลายเดือน หรืออาจเป็นปี และเฝ้าติดตามดูอาการเป็นระยะ ๆ นานหลายปี  เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบาสามารถมีชีวิตอยู่ในรูปแบบของซีสต์ได้นานหลายสิบปี  ดังนั้นเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีเชื้อโรคที่ไปเป็นอาหารชั้นดีของเชื้ออะแคนทะมีบา ซีสต์ดังกล่าวก็จะแปลงร่างเป็นโทรโฟซอยต์ทำให้ดวงตาอักเสบทันที

ทำอย่างไรไม่ให้ติดเชื้อ

1. ล้างมือทำความสะอาดโดยการฟอกสบู่หลาย ๆ ครั้ง ก่อนหยิบจับคอนแทคเลนส์  

2. น้ำยาทำความสะอาดล้างเลนส์ ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน ไม่เก่าเก็บเกิน 2 เดือนหลังจากเปิดใช้แล้ว

3. ขัดถูล้างเลนส์ทั้ง 2 ด้านเป็นเวลาพอสมควร ตลอดจนล้างขัดถูตลับแช่เลนส์ให้สะอาดทุกครั้งก่อนใส่น้ำยาแช่เลนส์ที่เปลี่ยนใหม่ทุกวัน เพราะโรคนี้มักพบในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มบ่อยกว่าชนิดแข็ง โดยเฉพาะไม่ล้างทำความสะอาดเลนส์ทุกวันหรือใส่นอน

4. ควรนำตลับแช่เลนส์อบไมโครเวฟทุก 2-3  สัปดาห์ และเปลี่ยนตลับใหม่ทุก 2-3 เดือน เนื่องจากเชื้อโรคนี้อยู่ทนทาน 

หากมีอาการหรือพฤติกรรมต่อไปนี้ อย่าใส่คอนแทคเลนส์

1.เปลือกตาอักเสบ 

2.ตาแห้ง 

3.เป็นโรคภูมิแพ้

4.ไม่มีเวลาดูแลล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์   

เนื่องจากเชื้ออะแคนทะมีบา เป็นสาเหตุสำคัญของอาการกระจกตาอักเสบ และยังส่งผลให้เกิดแผลที่ดวงดา ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ มีความอดทนต่อยาที่ใช้รักษาทุกชนิด ทำให้ต้องหยอดยาเป็นเวลานาน  และในบางรายอาจไม่ตอบสนองต่อยา เป็นผลให้เชื้ออาจมีการลุกลามไปทั่วทั้งกระจกตา จนเกิดอาการอักเสบทั้งลูกตาได้ 

การรักษาต้องหยอดยาเป็นเวลานาน  ถ้ามีอาการอักเสบมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ แต่ก็สามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก 

จึงต้องเฝ้าติดตามดูอาการเป็นเวลานาน  และในบางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัดเอาลูกตาออกในที่สุดแม้ว่าจะผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาแล้วก็ตาม  เนื่องจากสามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก

ดังนั้น การใส่คอนแทคเลนส์แล้วปฏิบัติตัวไม่ถูกวิธี มีสิทธิติดเชื้อจนตาบอดได้ ยิ่งเห่อใส่ตามแฟชั่น ยิ่งต้องควรระวังมากกว่าปกติ 

เพราะหากดูแลดวงตาและรักษาคอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี อาจมีเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาได้ง่าย หรือแค่ฝุ่นละอองปลิวเข้าตา ก็อาจพาเชื้อ “อะแคนทะมีบา” เข้าไปได้ด้วยเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดล้างเลนส์ แนะนำให้ใส่ชนิดรายวันแล้วทิ้ง หรือเปลี่ยนเป็นใส่แว่นตาจะปลอดภัยกว่า เพื่อให้ดวงตาคู่สวยของคุณมองเห็นโลกสดใสและจะอยู่คู่ชีวิตคุณได้ตลอดไป.

อันตรายจาก...คอนแทคเลนส์เวลาเป็นไข้





อย.เตือน ล้างคอนแทคเลนส์    ในตา อาจติดเชื้อได้ 


รู้กันหรือไม่ว่าการใส่คอนแทคเลนส์นั้นก็เป็นอันตรายเหมือนกัน หากคุณเป็นคนที่ชอบใส่คอนแทคเลนส์อยู่เป็นประจำควรฟัง

หลายคนอาจไม่เชื่อ แต่คุณหมอเคยอธิบายไว้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าการทำงานของตาจะผิดปกติไปเมื่อเราป่วย เช่น การผลิตน้ำตาจะเปลี่ยนแปลงไป ตาจะแดงขึ้น บางคนอาจเป็นตาแดงหรือตาติดเชื้อ และกระจกตาอาจจะบวม ซึ่งคอนแทคส์จะยิ่งทำให้อาการเหล่านี้เลวร้ายลงไปอีก 

แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องสวมก็ต้องหมั่นทำความสะอาดหรือเปลี่ยนชิ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอ และควรถอดออกเพื่อพักสายตา 2-3ครั้ง/วัน

แท้ ปลอม ดูยังไง


วิธีดูคอนแทคเลนส์บิ๊กอาย ของแท้-ของปลอม ดูยังไง??

 คอนแทคเลนส์ที่นำเข้ามาจากเกาหลี ของเเท้จะมีขอบฝาขวดเป็น "โลหะสีเงิน" ครับซึ่งเป็นของเกาหลีแน่นอน ของแท้ 100% มีใบรับรองการนำเข้าทุกอย่าง และมีใบอย.รับรองถูกต้องชัดเจน

1.ยี่ห้อ Wonder Eyes ขอบฝาขวดคอนแทคเลนส์เป็น "สีทอง" (ปกติเป็นสีเงิน)

     

             ของปลอม.>>คอขวดเป็นโลหะสีทอง            ของแท้ << คอขวดเป็นโลหะสีเงิน

2.ฉลากข้างขวดคอนแทคเลนส์จะระบุค่านย์กลางของคอนแทคเลนส์ หรือ Dia (Diameter) มากกว่าื 15.5 mm. 
BC. (Base Curve) ไม่ได้อยู่ระหว่าง 8.4 - 8.8 mm. <--------ของปลอม
(ของเกาหลี จะไม่สามารถระบุได้ครับ จะระบุได้เพียง DIA.(Diameter = เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์)ซึ่งเป็นค่าที่ผลิตมาจากโรงงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 14.0 - 15.5 mm. ประมาณนี้ครับ มากกว่านี้ จะไม่สามารถใส่เข้าไปในดวงตาเราได้แล้วครับ โดยค่า Max สุด เป็นขนาดของบล๊อคที่ผลิตคอนแทคเลนส์ที่ใหญ่ที่สุดแล้ว)

ส่วน Eff. (Effect) เป็นลวดลายหรือขอบที่เป็นลูกเล่น เพื่อเพิ่มความโตของเลนส์เมื่ออยู่ในตาเรา ไม่ใช่ขนาดจริงๆของตัวเลนส์
ซึ่งไม่ได้ระบุมาจากโรงงานครับ เพราะดวงตาของคนไม่เท่ากันนะครับ เป็นค่าที่ประมาณกันเอง นี่คือเหตุผลอย่างหนึ่งว่าทำไม   ที่บางร้าน บางเว็บ บอกไม่เหมือนกัน บ้างก็บอก Eff. 18 บ้างก็บอก Eff.19 เพราะตาแต่ละคนใส่ออกมาแล้วไม่เหมือนกัน


              

           ของปลอม                                                   ของปลอม
                                    
3.ไม่มีที่มา ไม่ระบุโรงงานที่ผลิต, ผู้นำเข้า,ไม่มีเอกสารรับรองการนำเข้า และไม่มีใบอย.รับรองสินค้า
ใครซื้อมาแล้ว ถามจากผู้ขายได้เลย ว่ามีระบุอนุญาติ ตามฉลากหรือเปล่า????



                                        มาแบบเปล่าๆโล่งๆ<----ของปลอม


4.สังเกตว่า ถ้ามีระบุ USA <----ของปลอม เพราะคอนแทคเลนส์นำเข้าจากเกาหลี

5.ฝาขวดเป็นของบริษัท GEO (สีส้ม) แต่ฉลากเป็นของ Wonder Barbiie!!!!


อันนี้ปลอมที่สุด ที่สุดของปลอม

6.ฉลากของแท้ทุกคู่ ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น จะต้องเป็น ฉลาก hologram  ฉลาก Hologram คืออะไร ดูยังไง Hologram ดูง่ายๆเลยนะ มันตัวยี่ห้อจะสะท้อนแสง เมื่อโดนแสงแล้วมันจะวาวๆวิ้งๆ เลื่อมๆ เมื่อเอามือลูบๆดูแล้วมันจะไม่สากนะ

วิธีการเลือกคอนแทคเลนส์



สำหรับวิธีการเลือกคอนแทคเลนส์นั้น ในครั้งแรกที่ทุกท่านจะลองใส่คอนแทคเลนส์ไม่ว่าจะเพื่อความสวยงาม ความแบ๊ว หรือเพื่อความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเรื่องจากปัญหาสายตา ควรที่จะไปพบจักษุแพทย์ดูสักครั้งหนึ่งก่อนค่ะ เพราะว่าจักษุแพทย์จะได้วัดค่าสายตา B.C. DIA. CYL AXIS คุณภาพและปริมาณของน้ำตา รวมถึงโรคของตาที่อาจยังไม่แสดงอาการ etc. แล้วจะได้แนะนำคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับดวงตาของท่านให้ค่ะ เพราะ ถ้าใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสมกับดวงตาเนี่ยสามารถทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หลากหลายเลยค่ะ เช่น
ใส่คอนแทคเลนส์ที่B.C.น้อยเกินไป ก็จะทำให้ดวงตาของท่านถูกบีบรัด จนเส้นเลือดฝอยในดวงตาแตก หรือทำให้ความดันในดวงตาเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเป็นโรคต้อชนิดต่างๆขึ้นมาได้ หรือB.C.ที่มากเกินไป ก็จะทำให้ใส่คอนแทคเลนส์แป๊บๆก็หลุดแป๊บๆก็เลื่อน ลมพัดหน่อยหรือกระพริบตาหน่อยก็ปลิวไปอะไรแบบนี้ค่ะ หรือว่าถ้าใสคอนแทคเลนส์ที่มีDIAมากเกินไปก็จะทำให้ออกซิเจนไหลผ่านเข้าสู่ดวงตาน้อยลง ก็เป็นปัญหาได้อีกเช่นกัน
ดังนั้นหลักในการเลือกคอนแทคเลนส์แบบง่ายๆคือ

1.มีDIA.ที่ไม่ใหญ่จนเกินไปโดยปกติจะอยู่ที่ 14.0-14.5
2.B.C.ที่เหมาะสมพอดีกับดวงตาของเรา
3.มีค่าอมน้ำ(water content)ในเปอร์เซ็นต์สูง เพราะค่าอมน้ำเนี่ย หมายถึงการที่คอนแลนส์สามารถอุ้มน้ำได้เท่าไหร่และยอมให้ออกซิเจนไหลผ่านได้แค่ไหน ซึ่งยื่งมากก็จะลดโอกาสตาแห้งหรือระคายเคืองตาลงไปได้ค่ะ
- High water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ใส่สบายตาและใส่ได้นาน
- Low water ยอมให้ Oxygen ผ่านได้น้อย ความสบายตาลดลง และใส่ได้ไม่นาน 
แต่ว่าสิ่งที่ช่วยลดอาการตาแห้งก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าอมน้ำอย่างเดียวนะคะ วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ก็มีส่วนค่ะ ว่าทำให้น้ำระเหยไปได้ไวแค่ไหน เพราะก็มีนะคะที่ค่าอมน้ำสูงมากๆแต่วัสดุเนี่ยทำให้น้ำระเหยออกไปได้เร็วตาเราจึงแห้งระหว่างวันค่ะ (เพราะฉะนั้นจึงมีบางคนบอกว่ายี่ห้อAอมน้ำ 60% แต่ทำไมใส่แล้วไม่สบายตาเท่ายี่ห้อBที่อมน้ำแค่ 40 % มันมีสาเหตุมาจากวัสดุนี่แหละค่ะ)
4.มีวัสดุที่เหมาะสม(Material) ถ้าหากท่านแพ้วัสดุตัวใดที่ใช้ทำคอนแทคเลนส์ก็ควรที่จดเอาไว้นะคะ เพราะถ้าคราวหน้าเราจะเปลี่ยนยี่ห้อจะได้ดูว่าไม่มีวัสดุที่เราแพ้ค่ะ (อาการแพ้ก็คือใส่แล้ว เจ็บตา ระคายเคืองตา มีขี้ตาออกมามากกว่าปกติ ตาแฉะ มองภาพไม่ชัด etc.)
ซึ่งHydroxyethyl methacrylate ( HEMA ) เป็นสารชนิดแรกที่นำมาผลิต Soft Cont Lens 
- สามารถอมน้ำได้ตั้งแต่ 38 %ขึ้นไป , นิ่มใส่สบายและใส่ได้นาน
- ยอมให้ Oxygen ผ่านได้ดี ปัจจุบันคอนเลนส์ที่นิยมใช้กัน จะผลิตด้วยเนื้อวัสดุที่เป็น HEMA หรือ Polymacon ,Methafilcon Aและอีกหลากหลายเลยค่ะต้องดูกันแล้วจดตัวที่เราแพ้ไว้ด้วยนะคะ 

5.มีกรรมวิธีการผลิตที่เหมาะสมซึ่งตอนนี้เท่าที่ทราบมี 4 แบบค่ะ

1. SPIN CAST ( ระบบปั่น เป็นระบบเดิม ) 
ข้อดี 
- ผิวเรียบใส่สบาย 
- ต้นทุนการผลิตต่ำ 
ข้อเสีย 
- พับ และฉีกขาดง่าย
- ผลิตโค้งได้น้อย 
- ใช้เวลานานในการผลิตต่อชิ้น

2. LATHE CUT ( ระบบเจียระไน เป็นระบบที่ทันสมัย ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียดได้มาตรฐาน 
- เกาะตาดำได้ดี
- พับและฉีกขาดยาก 
- ผลิตได้หลายโค้ง เหมาะสำหรับดวงตาทุกขนาด 
ข้อเสีย
- ต้นทุนการผลิตสูง

3. CAST MOULDED ( ระบบปั๊ม ) 
ข้อดี 
- ชิ้นงานละเอียด 
- ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน 
ข้อเสีย 
- ต้นทุนการผลิตสูง 

4.Sandwish Method (ระบบสอดไส้) ใช้กับคอนแทคเลนส์สี
ข้อดี
- ชิ้นงานละเอียด
- ไม่มีโอกาสที่สีของคอนแทคเลนส์จะหลุดออกมาติดกับดวงตา
ข้อเสีย
- สีของเลนส์ไม่สม่ำเสมอ
เพราะฉะนั้นบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรืออเมริกา ท่านจะไม่สามารถซื้อคอนแทคเลนส์ด้วยตัวเองยกเว้นว่าจะมีใบสั่งจากจักษุแพทย์หรือมีประกันสังคมอะค่ะ แต่ของประเทศไทยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แล้วเกิดปัญหาทีก็ยุ่งเลยอะค่ะทีนี้

ดังนั้นไปพบจักษุแพทย์ก่อนลองใส่นะคะ

รู้เฟื่อง เรื่องคอนแทคเลนส์




ถ้าใส่แล้วเกิดอาการเคือง
          ถ้าเคืองเกิน 5-10 วิ คิดว่ามันไม่ปกติ ถอดออกมาล้างแล้วใส่ใหม่
อย่าทน ดวงตาอาจจะบาดเจ็บได้
วิธีดูว่าด้านของคอนแทคเลนส์นั้นถูกต้องรึยัง ??
          วางบนมือแล้ว คอนแทคเป็นรูประฆังหงาย ต้องสังเกตดีๆ  ถ้าลองกลับคอนแทคดูจะมองออกเองว่าด้านไหนถูก  คือมีปลายที่ค่อนข้างบานออกนิดหน่อย แสดงว่า ผิดแล้ว คอนแทคเวลาประกบกับดวงตา  ปลายจะต้องงุ้มเข้าประกบดวงตา ไม่ใช่เอาปลายทาบแบนกับดวงตานะ
ปัญหา ขนตา/เปลือกตา กระพริบเวลาจะใส่เลนส์
         คนที่ใส่แรกๆจะมีปัญหาเพราะกลัว ตาจะกระพริบเองตลอด เรื่องปกติ อาจจะต้องลองถอดใส่ประมาณ  5-10 ครั้ง จะเริ่มชินกับการใส่มากขึ้นเอง 

ถ้าคอนแทคตก
           ก็เริ่มกลับมาวางบนมือใหม่แล้วล้างคอนแทคใหม่อีกครั้ง ตกอีกก็ต้องล้างใหม่ทุกครั้งนะคะ   เวลาถอดคอนแทค ก็แค่ล้างมือให้สะอาด แล้วใช้นิ้วชี้นิ้วโป้งค่อยๆหยิบออกจากตา
ต้องรักษาให้สะอาด และจับอย่างเบามือ 
          เพราะเราต้องระวังไม่ให้โดนเล็บ มันจะเสี่ยงต่อการฉีก ฉีกแค่จุดเล็กๆนิดเดียวก็ใส่ไม่ได้แล้วทางเดียวคือทิ้งเท่านั้น
ต้องตัดใจเลย เพราะซ่อมไม่ได้
การนับเวลาการหมดอายุของคอนแทคเลนส์
          คือการเริ่มถอดออกมาใส่เข้าตา มันจะเริ่มการสะสมโปรตีนทันที  ตัวอย่างเช่น รายสองเดือน เริ่มใส่วันที่ พค. ก็จะหมดวันที่ กค. ไม่ควรจะใส่แล้วแต่จริงๆ บวกลบไปนิดหน่อยไม่เป็นไร ถ้าคอนแทคยังสภาพสมบูรณ์อยู่ 

เมื่อคอนแทคเลนส์หลุดจากตา                                                                                                
              แล้วไม่พกตลับหรือน้ำยาไป อันนี้คือเข้าตาจนจริงๆใช้น้ำเปล่าก่อนต้องเป็นน้ำดื่มสะอาด   ไม่ใช่น้ำประปานะ  น้ำประปามีคลอรีนจะทำให้เลนส์เสื่อม  วางไว้บนอุ้งมือแล้วต้องทำคอนแทคให้โดนน้ำตลอดเวลาหลังจากนั้นไปหาน้ำยามาแช่ก่อนนะคะ ถึงจะใส่เข้าไปใหม่ได้ 
การใส่คอนแทคนอน                                                                                                               
               ไม่ควรทำ ถึงแม้จะเป็นรุ่นที่ใส่นอนได้ก็ตาม ถ้างีบๆไม่เป็นไรมาก
การเคืองตาที่ไม่ได้เิกิดจากความสกปรกหรือเลนส์ฉีกขาด                                                       
               อาจจะอยู่ที่ตาบอบบางหรือน้ำในตาน้อย ถ้าอยากจะใส่คอนแทคจริงๆควรหาซื้อน้ำตาเทียมมาหยอดตาเรื่อยๆด้วยนะ
ความจำเป็นของน้ำตาเทียม                                                                                                      
               จำเป็นสำหรับบางคน (คนที่น้ำในตาน้อยมาก)ใส่แล้วจะรู้เอง ว่ามันเคืองเพราะเหมือนตามันแห้งๆบางคนก็ไม่จำเป็นต้องหยอดน้ำตาเทียมเลย(คนทั่วไปมักจะไม่จำเป็น)
การใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8 ชั่วโมง ต่อ วัน                                                                    
                อาจจะทำให้ตาล้าได้ควรจะพักสายตาบ้าง
การมองเห็นไม่ชัด อาจเกิดได้ในคอนแทคสีบางตัว                                                                    
               ปัญหานี้จะเกิดเมื่อเวลาเย็นหรือกลางคืน เวลาอยู่ในที่มืดเท่านั้นเพราะเวลามืดแล้ว ตาดำของเราจะขยายขึ้นถ้ามันขยายเกินช่องว่างที่เป็นพื้นที่ใสๆตรงกลางคอนแทคมันจะทำให้การมองเห็นในที่มืดของเราไม่สมบูรณ์ เป็นเรื่องปกติ
สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือเรื่องสุขลักษณะ             
                                        
              ต้องล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ การสวมและการเปลี่ยนเลนส์ก็ให้เป็นไปตามระยะที่กำหนด การล้างและการเก็บรักษาเลนส์ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนภาชนะที่เก็บเลนส์ก็ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ 
              ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่ขณะว่ายน้ำเพราะอาจทำให้ติดเชื้อที่ตา และห้ามใส่เวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม และต้องถอดทำความสะอาดทุกวัน 
              หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และให้รีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์โดยเร็ว

'บิ๊กอาย' อันตราย!!!






บิ๊กอาย เป็นคอนแทคเลนส์ชนิด bifocal เลนส์แบ่งออกเป็นสองครึ่งหนึ่ง ส่วนบนและส่วนอื่นๆ จะต่ำกว่า และบางครั้งก็สามารถอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลาง เลนส์หนึ่งในส่วนภายในและส่วนนอกที่ต้องการเลนส์ คอนแทคเลนส์บิ๊กอายจะอ่อน มีส่วนประกอบของวัสดุก๊าซ โดยตาของผู้สวมใส่จะเริ่มทยอยปรับตัวให้เข้าความแตกต่างของส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อตา ประสานงานกับการทำงานของเลนส์ แสงจะถูกหักเหในมุมของจอตา ความสามารถในการหักเหแสงที่แตกต่างอาจทำให้บางคนมีปัญหามากและปัญหาในการสวมใส่ ปัจจุบันบิ๊กอายจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข การผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบว่าได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือไม่ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องรีบเข้าไปตรวจสอบ และจับกุมผู้ที่กระทำความผิด เพราะจำนวนผู้เข้ารับการรักษาที่มีลักษณะตาอักเสบจากการ ใส่บิ๊กอายเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการควรที่จะออกกฎระเบียบมาคุมเข้มในเรื่องของการใส่บิ๊กอาย หากเป็นบิ๊กอายที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ผู้ที่จะนำมาสวมใส่ควรที่จะรักษาความสะอาดให้ดี จะช่วยป้องกันตาติดเชื้อได้

พิษบิ๊กอาย

พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยอาการตาบวม เป็นสีแดงก่ำ ปวด และมีขี้ตาเป็นสีเขียวออกมาตลอดเวลา ทั้งเพศชายและหญิง ทุกรายเป็นวัยรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี  เมื่อส่องกล้องพบว่ามีรอยขาวขุ่นอยู่ในตาดำ เป็นลักษณะของการเกิดแผลที่กระจกตาดำ ผู้ป่วยต้องเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน ผลจากการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาสาเหตุ  พบว่า ตาติดเชื้อแบคทีเรียสูโดโมแนส แอรูจิโนซา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถกินทะลุกระจกตาดำภายใน 2 วัน หากรักษาไม่ทันอาจส่งผลให้ตาบอด หรือต้องควักลูกตาออก เพื่อไม่ให้ลามไปยังอวัยวะอื่น เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่กระแสเลือดได้ ในการรักษาตาติดเชื้อแบคทีเรียสูโดโมแนส แอรูจิโนซา ต้องใช้เวลานานและต้องให้ยาฆ่าเชื้อชนิดแรงทั้งแบบยาฉีดและยาหยอดตา

สาเหตุที่ทำให้ตาติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์บิ๊กอาย ผู้ป่วยทุกรายมีประวัติใส่บิ๊กอายทั้งสิ้น โดยซื้อจากแผงลอยวางขายทั่วไปตามตลาดนัด สะพานพุทธ หรือย่านขายของวัยรุ่น สั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต หรือซื้อจากเพื่อนที่เป็นนายหน้าขายตรงด้วยการมีแคตตาล็อกแบบของบิ๊กอายให้ เลือกเป็นชนิดใส่รายปี ในราคาคู่ละ 300 บาท ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมใส่อย่างมากในกลุ่มพนักงานบริษัท หรือคนวัยทำงาน รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาทั้งหญิงและชาย สวมใส่ตั้งแต่เรียนอยู่ในชั้นระดับมัธยมต้น

หนึ่งในผู้ป่วยตาติดเชื้อจนเกิดแผลที่กระจกตาดำ กล่าวว่า ใส่บิ๊กอายเนื่องจากเป็นคนสายตาสั้น เมื่อใส่แว่นจะรู้สึกเกะกะ และยอมรับว่าอยากสวย บวกกับเห็นเพื่อนใส่มานาน 2-3 ปี จึงตัดสินใจสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ตแบบรายปี คู่ละ 300 บาท ซึ่งตนจะบอกระยะสายตาที่สั้น เลือกแบบแล้วเพื่อนจะเป็นคนสั่งซื้อให้พร้อมจัดส่งถึงบ้าน เมื่อเริ่มเปลี่ยนเป็นคู่ที่ 2 ได้ราว 2-3 เดือน เริ่มมีอาการโดยเกิดการระคายเคืองตา จึงถอดบิ๊กอายออกและนอนหลับตามปกติ เมื่อตื่นขึ้นมา ตาแดง คิดว่าไม่เป็นไร เพราะเคยเป็นมาก่อน ทำให้ใส่บิ๊กอายกลับเข้าไปใหม่ แต่ทันทีที่เจอกับแสงแดด ปรากฏว่าตาสู้แสงไม่ได้ แสบตาและน้ำตาไหล ตาแดงก่ำมาก

ขณะที่ผู้ป่วยตาติดเชื้อจนเกิดแผลที่กระจกตาดำอีกรายอายุ 14 ปี บอกว่า ซื้อบิ๊กอายจากร้านแผงลอยย่านสะพานพุทธ ใช้ได้ 3-4 เดือนเริ่มเกิดอาการแสบตา 
และตาแดงมาก รู้สึกเหมือนมีอะไรขาวๆ อยู่ในตาตลอดเวลา เจ็บมาก

แผลที่กระจกตาดำ

มักเกิดกับผู้ที่ละเลยกับการใส่ใจดูแลตัวเอง ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ พฤติกรรมการเปลี่ยนใส่คอนแทคเลนส์ เพียงแค่ลืมถอดคอนแทคเลนส์ก่อนนอน หรือเพียงแค่ลืมดูวันหมดอายุการใช้งานของคอนแทคเลนส์ การดูแลรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ ก็อาจมีผลถึงกับทำให้ตาบอดได้ 

อาการของโรค ได้แก่ ปวดในตา ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ บีบตา ตามัว ตรวจพบกระจกตาขุ่น บวมและอักเสบ 

การเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้กระจกตาเปลี่ยนสภาพ เกิดเป็นต้อหิน ต้อกระจก มักเป็นในรายที่ได้ยาขนาดเข้มข้นนานๆ บางรายกระจกตาบางลงและทะลุ อาจเกิดการติดเชื้อลุกลามเข้าลูกตา

ระดับของแผลที่กระจกตาชนิดเล็กน้อย แผลมีขนาดน้อยกว่า 2 มม. ความลึกของแผลน้อยกว่า 20% ของความหนาของกระจกตา 

แผลระดับปานกลางขนาด 2-5 มม. ความลึกของแผล 20-50% ของความหนาของกระจกตา

แผลรุนแรงขนาดใหญ่กว่า 5 มม. ความลึกของแผลมากกว่า 50% ของความหนาของกระจกตา

ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค

ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ผิดวิธี ใส่คอนแทคเลนส์ที่หมดอายุ ใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ กระจกตาต้องการออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยง เมื่อมีคอนแทคเลนส์ขวางอยู่ ทำให้ออกซีเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงกระจกตาได้ การไม่ล้างกล่องใส่คอนแทคเลนส์และคอนแทคเลนส์ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เมื่อใส่คอนแทคเลนส์ที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่ ทำให้เชื้อโรคที่สัมผัสกระจกตาปล่อยสารที่มีฤทธิ์ย่อยเยื่อกระจกตา เป็นสาเหตุของโรคกระจกตาเปือย 

บางรายอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่ดวงตา แผลที่กระจกตาเป็นภาวะที่กระจกตาอักเสบเป็นแผล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอด พบเป็นอันดับสองรองจากต้อกระจก โดยการติดเชื้อที่กระจกตาทำให้มีแผลเป็นและมีฝ้าขาวที่กระจกตา การมองเห็นลดลงสายตาเลือนลาง และตาบอดได้ในบางราย ซึ่งสาเหตุเกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส ปรสิต หรืออาจมีประวัติจากการเกิดอุบัติเหตุที่ตามาก่อนหรือไม่ก็ได้

การใส่คอนแทกเลนส์ติดต่อกันหลายวัน โดยไม่ได้ล้างทำความสะอาด ทำให้เชื้อโรคที่สัมผัสกระจกตาอยู่ ปล่อยสารออกฤทธิ์ย่อยเยื่อกระจกตาไปเรื่อยๆ ยิ่งเสี่ยงต่อโรคกระจกตาเปือย ซึ่งรุนแรงถึงขั้นตาบอดในชั่วข้ามคืนได้

การรักษา

เริ่มให้ยาให้เร็วที่สุด หลังจากการวิเคราะห์การเพาะเชื้อของแผล และให้ยาที่ครอบคลุมเชื้อหลายชนิดก่อน และเมื่อทราบเชื้อ จึงเปลี่ยนหรือปรับยาที่เฉพาะต่อเชื้อที่สุดด

การให้ยาจะประกอบด้วยยาปฏิชีวนะ ให้ตามกลุ่มที่พบเชื้อจากการย้อมสี ถ้าไม่พบเชื้อ ควรให้ยาที่มีฤทธิ์กว้าง เช่น Cefazolin Ceftazidime ร่วมกับ Tobramycin หรือ Gentamicin หรือใช้ยาตัวเดียว เช่น Ciprofloxacin

การหยอดตาควรหยอดบ่อยๆ ทุก 5-15 นาที ในชั่วโมงแรก โดยเว้น 5 นาที ถ้าใช้ยาตัวอื่นด้วยเพื่อเพิ่มปริมาณยาให้ถึงระดับเร็วๆ หรืออาจหยอดทุก 1 นาที เป็นวลา 5 นาที และซ้ำแบบนี้ทุก 30 นาที แล้วจึงห่างเป็นทุก 30-60 นาทีต่อไป

ข้อแนะนำการใส่คอนแทคเลนส์

- คอนแทคเลนส์ตาโตสีๆที่ขายทั่วไป อาจทำให้เราเห็นไม่ชัด เนื่องจากเส้นสีของเลนส์อาจขยับบังการมองเห็นของเรา ตัวเลนส์หนา ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ส่งผลให้ตาแห้ง

- ล้างและถูตัวเลนส์ก่อนเก็บและก่อนใส่ทุกครั้ง วิธีล้างคือเทน้ำยาลงที่ตัวเลนส์ ถูเลนส์ เทน้ำยาทิ้ง ทำแบบนี้สัก 2-3 ครั้ง เพื่อเอาคราบโปรตีนและสิ่งสกปรกออก

- หมั่นเปลี่ยนน้ำยาที่แช่เลนส์บ่อยๆ เพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค

- คอนแทคเลนส์รายเดือนดีกว่ารายปี ยิ่งใส่นาน เชื้อโรคยิ่งสะสมมาก

- อย่าใส่ติดต่อกันนานจนเกินไปประมาณ 12 ชม. ก็ควรถอดและเปลี่ยนมาใส่แว่นแทนบ้าง เพื่อเป็นการให้ตาได้ถ่ายเทออกซิเจนได้สะดวก

- หากนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ให้ละสายตามองออกไปข้างนอกบ้าง 

- คอนแทคเลนส์ตาโตคุณภาพไม่ดีเท่าคอนเทคเลนส์ทั่วไป

- กระพริบตาหรือหลับตาบ่อบๆ ตาจะได้ไม่แห้ง

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
 www.bangkokhospital.com ,www.bangkokhealth.com

 
Focus Eyes © 2012 | Designed by Rumah Dijual, in collaboration with Buy Dofollow Links! =) , Lastminutes and Ambien Side Effects